Last updated: 17 ก.ค. 2567 | 107 จำนวนผู้เข้าชม |
ในกล้องสำรวจแนวคิดของเส้น ระนาบ และมุมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวัดและการกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และในการสร้างแผนที่ โดยเฉพาะในการใช้งานของเครื่องมือวัดระยะทางและมุมที่มีความแม่นยำสูง แนวคิดเหล่านี้ถูกประยุกต์ใช้
เส้น (Line)
เส้นในงานสำรวจแบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้
- เส้นดิ่ง (Vertical Line) : จะเป็นเส้นที่เกิดในทิศตามแนวแรงดึงดูดโลก และมีเพียง1 เส้นต่อ 1 จุด
บนผิวโลก ทำให้เส้นดิ่งนั้นกลายเป็นจุดอ้างอิงหลักในการทำงานสำรวจงานเซอร์เวย์โดยการหาเส้น
ดิ่งนั้นทำได้โดยใช้ลูกดิ่งแขวนเพื่อตามหาเส้นดิ่งในจุดนั้น ๆ
- เส้นราบ (Horizontal Line) : เป็นเส้นที่จะตั้งฉากกับเส้นดิ่งเสมอ โดยจะมีหลายเส้นรอบ ๆ เส้น
ดิ่ง ซึ่งสามารถหาเส้นราบได้ด้วยการใช้หลอดระดับหรือที่ช่างชอบเรียกว่า “ลูกน้ำฟอง” ในการหาเส้น
ราบรอบ ๆ เส้นดิ่งนั่นเอง
ระนาบ (Plane)
ระนาบเองก็ยังไม่คงพ้นคำว่า “ดิ่ง” และ “ราบ”โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบได้เหมือนเดิมดังนี้
- ระนาบดิ่ง (Vertical Plane) : วิธีหาระนาบดิ่งก็ง่ายมาก ๆ หากเส้นดิ่งผ่านที่จุดใด ก็จะมีระนาบ
ดิ่งที่นั่น
- ระนาบราบ (Horizontal Plane) : หากระนาบดิ่งเหมือนคู่แท้ของเส้นดิ่ง ระนาบราบก็เหมือนมือ
ที่สามที่เป็นรักสามเส้าของเรื่องโดยระนาบราบจะตั้งฉากกับเส้นดิ่ง ณ จุด ๆ นั้น
มุม (Angle)
แท้จริงแล้วมุมมีหลากหลายแบบมากแต่เพื่อความเข้าใจง่ายๆในพื้นฐานที่ต้องใช้กับเครื่องมือสำรวจ
ทางเราจะขอยกตัวอย่างเพียง 2 แบบดังนี้
- มุมดิ่ง (Vertical Angle) : เป็นมุมวัดบนระนาบดิ่งไปจบที่ระนาบราบตรงจุดที่ทำการวัดโดยมุม
ดิ่งสามารถเป็นมุมก้มหรือมุมเงยก็ได้
- มุมราบ (Horizontal Angle) : มันคือมุมระหว่างระนาบดิ่ง 2 ระนาบ โดยวัดจากระนาบราบที่จุด
นั้นเท่านั้นหากไม่ได้อยู่ในแนวระนาบราบ จะไม่ถือเป็นมุมราบ
จะเห็นชัดว่า ทั้งสามคำ (เส้น-ระนาบ-มุม)
มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการทำความเข้าใจที่ดีที่สุด คือการลองไปปฏิบัติจริงกับตัวกล้องวัดมุม กล้องTotal Stationเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ่้งมากขึ้น
ยินดีให้คำปรึกษาแนะนำ กล้องระดับ กล้องวัดมุม กล้องประมวลผลรวม และบริการหลังการขาย : บริษัท พี นัมเบอร์วัน อินสตรูเม้นท์ จำกัด
31 ต.ค. 2567
1 พ.ย. 2567
1 พ.ย. 2567